หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

สถานที่สำคัญ อำเภอเมือง

พระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม      

          ตั้งอยู่ที่ ถนนสุชาดา ตำบลเวียงเหนือ เป็นวัดเก่าแก่และสวยงาม มีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 1979 เป็นเวลานานถึง 32 ป ีเหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า พระมหาเถระแห่งวัดนี้ได้พบ แก้วมรกตในแตงโม (ภาษาเหนือเรียกว่า หมากเต้า) และนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แต่ต่อมาได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จนถึงปัจจุบัน ปูชนียสถานที่สำคัญในวัด พระแก้วดอนเต้า ได้แก่ องค์พระบรมธาตุของดอนเต้า พระเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งบรรจุพระเกศาธาตุ ของพระพุทธเจ้า
   วิหารหลวงที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่มีอายุเก่าแก่พอๆกับวัดนี้นอกจากนี้ยังมีวิหารหลวง ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วิหารพระเจ้าทองทิพย์สร้างศิลปะสมัยเชียงแสน มณฑปหรือพญาธาตุศิลปะแบบพม่า วิหารลายคำสุชาดารามฝีมือช่างเชียงแสน ภายในมีจิตรกรรม ฝาผนังโดยมีลวดลายทอง ประดับตามส่วนต่าง ๆ งดงาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเชียงแสน และยังมีพิพิธภัณฑสถานแห่งล้านนา อันเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัตถุแบบล้านนาเช่น สัตตภัณฑ์ เครื่องถ้วย กระเบื้องพระพุทธรูป เป็นต้น              
การเดินทาง ข้ามสะพานรัษฎาภิเษกแล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนพระแก้วประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นยอดพระธาตุเด่นอยู่บนเนิน
 

http://www.lampang.go.th/travel/data/placetour/maung.htm




วัดพระเจดีย์ซาวหลัง   
     วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธงชัย ห่างจากตัวเมือง 1.5 กิโลเมตร ตามถนนสาายลำปาง แจ้ห่ม คำว่า "ซาว" แปลว่า ยี่สิบ คำว่า "หลัง" แปลว่า องค์ ฉะนั้น วัดเจดีย์ซาวหลัง จึงแปล ได้ว่า วัดที่มีเจดีย์ 20 องค์ จากหลักฐานการขุดพบพระเครื่องสมัย หริภุญไชยที่องค์พระเจดีย์ ทำให้ สันนิษฐานได้ว่าวัดนี้ สร้างมานานกว่าพันปี              
จุดเด่นของวัด   
     คือองค์พระธาตุซาวที่มีศิลปะล้านนาผสมศิลปะพม่าเชื่อกันว่าหากใครนับได้ครบ 20 องค์ ถือว่า เป็นคน มีบุญ ข้างหมู่พระเจดีย์มีวิหารเก่าแก่หลังเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิศิลปะ เชียงแสน ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปทันใจ พระอุโบสถหลังใหญ่ซึ่งประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัยที่มีพุทธลักษณะงดงามบานประตูทั้งสามเป็นของโบราณ เขียนลวดลายรดน้ำละเอียด สวยงาม เสาซุ้มประตูหน้าต่างประดับลวดลายกระจกสีเป็นลักษณะ ศิลปะสมัยใหม่ และที่ศาลาการเปรียญ เรือนไม้ชั้นเดียว ด้านหลังพระอุโบสถเป็นพิพิธภัณฑ์สถาน เขลางค์นครแสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาถวาย เมื่อปี พ.ศ.2526 ชาวบ้านได้ขุดพบ พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์หนัก 100 บาทสลึง มามอบให้แก่ทางวัด ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ชื่อว่า พระแสนแช่ทองคำเป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้วครึ่ง สูง 15 นิ้ว เป็นพระพุทธรูป ทองคำองค์แรกที่ขึ้นทะเบียนเป็น โบราณวัตถุแห่งชาติ   




http://www.lampang.go.th/travel/data/placetour/maung.htm


เขื่อนกิ่วลม      
         อยู่ห่างจากตัวเมืองไป 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายลำปาง-งาว โดยแยกซ้ายตรงหลัก กิโลเมตรที่ 623-624 เข้าไปอีก 14 กิโลเมตร                
     เขื่อนกิ่วลมอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทแต่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมชลประทาน 
บริเวณเหนือเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำเหมาะแก่การล่องเรือหรือแพ เพราะมีทัศนียภาพสวยงาม การล่องแพ ใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งวันมีสถานที่น่าสนใจ เช่น แหลมชาวเขื่อนเกาะวังแก้ว ผางาม ผาเกี๋ยง ถ้ำสมบัติ ทะเลสาบกิ่วลม หมู่บ้านสา ฯลฯ สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปหากต้องการล่องแพ หรือค้างคืนบนที่พัก สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ         
1. ล่องแพวังแก้ว/เกาะวังแก้วรีสอร์ท (แพวังแก้ว ฮอลิเดย์ นำเที่ยวจังหวัดลำปางและภาคเหนือ)หรือพักค้างคืนบนเกาะวังแก้วรีสอร์ท ซึ่งเป็นแพติดเครื่องยนต์จัดแพกเกจ ล่องแพ-บ้านพัก-อาหาร ตั้งแต่ 6 ท่านขึ้นไป หรือค้างคืนที่เกาะวังแก้วรีสอร์ทเป็นบ้านพักตากอากาศบนเกาะกลางน้ำบ้านพักจำนวน  10 หลัง , 20 ห้อง  (พักได้ 60-70 ท่าน) ราคา 900-3,000 บาท  
สำนักงานจอง  91 ตรอกโรงไฟฟ้าเก่า ถ.มนตรี ต.สบตุ๋ย อ.เมือง ลำปาง 52100
โทร. 0 5422 3733, 08 9854 1293   Fax. 0 5481 0088            
สามารถดูเว็บไซต์   www.wangkaewresort.com        




http://www.lampang.go.th/travel/data/placetour/maung.htm


สำนักปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเกษม เขมโก          

         ตั้งอยู่ชานเมืองลำปาง ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม ภายในบริเวณ มีรูปปั้นขนาดใหญ่ของหลวงพ่อเกษมเขมโก พระเกจิอาจารย์อันเป็นที่เคารพนับถือของบรรดา พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ยืนเด่นอยู่ ด้านหน้า หลังูรูปปั้นมีมณฑปลักษณะเป็นอาคารทรงไทย ประยุกต์ มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อเกษมและห้องด้านซ้ายเป็นที่ตั้งโลงแก้วกระจกใสบรรจุศพ  
     ถึงแม้ว่าหลวงพ่อเกษม เขมโก จะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ก็ยังมีพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใส ศรัทธายังคงเดินทางไปนมัสการอยู่เสมอ มิได้ขาด


http://www.lampang.go.th/travel/data/placetour/maung.htm





อ้างอิง:http://www.lampang.go.th/travel/data/placetour/maung.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น